ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประตูเศรษฐกิจอาเซียน

ดอยหลวงดินแดนสองสายน้ำ สามตำบล สี่ชนเผ่า เรารักการเลี้ยงแกะ
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เส้นทางไปฟาร์มแกะดอยหลวง
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
การจัดการด้านสุขภาพแกะ
การจัดการด้านสุขภาพแกะ
|
|
|
|
|
ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา
แกะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ
ดังนี้ 1. กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บ เหา ไร ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ และขนหลุดเป็นหย่อมๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดี ผลผลิตลดลง การป้องกันแก้ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก 2. กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลด ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิทุก 1 เดือน 3. การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด |
|
|
1.
ท้องอืด สาเหตุ เกิดก๊าซจากการหมักในกระเพาะอาหารเนื่องจากกินหญ้าอ่อน หรือพืชใบอ่อนถั่วมากเกินไป อาการ กระเพาะอาหารพองลมขึ้นทำให้สวาปทางซ้ายของแกะป่องขึ้น การป้องกัน การรักษาและควบคุม |
2.
ปวดบวม สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการ จมูกแห้ง ขนลุก มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หายใจหอบ มีน้ำมูกข้น ไอหรือจามบ่อยๆ การป้องกัน ปรับปรุงโรงเรือนให้อบอุ่น อย่าให้ลมโกรก ฝนสาด การรักษาและควบคุม ใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด 3 วันติดต่อกัน เช่น ไทโลซิน คลอแรมฟินิคอล เตตราซัยคลิน เป็นต้น |
|
4.
โรคบิด สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในลำไส้ อาการ แกะถ่ายเหลว อาจมีมูกเลือดปน ผอม ท้องเสีย หลังโก่ง การป้องกัน การรักษาและควบคุม |
5.
โรคปากเป็นแผลผุพอง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส อาการ เกิดเม็ดตุ่มเหมือนดอกกระหล่ำขึ้นที่ริมฝีปาก และจมูก อาจลุกลามไปตามลำตัว การป้องกัน การรักษาและควบคุม |
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ เกิดเม็ดตุ่มพองขึ้นที่ไรกีบ ริมฝีปากและเหงือก ทำให้เดินขากะเผลกและน้ำลายไหล แต่อาการจะไม่เด่นชัดเหมือนในโค-กระบือ
การป้องกัน รักษาและควบคุม
แกะกับการจัดการด้านอาหาร
การจัดการด้านอาหารแกะ
นอกจากนี้
ควรเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ของแกะ เพื่อสามารถจัดการการเลี้ยงให้อาหารอย่างถูกต้อง
การตัดใบไม้ให้กิน
1. การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรให้เกิน 1 ใน 3 ของหญ้า
2. การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆ ไม่แก่เกินไป
3. ควรตัดใบพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน แค ทองหลางให้แม่แกะที่อุ้มท้อง หรือกำลังเลี้ยงลูก
4. ควรตัดให้เหนือจากพื้นดินไม่น้อยกว่า
1 เมตร
5. ควรผูกกิ่งไม้กแขวนไว้เหนือพื้นเพื่อให้แกะได้เลือกกิน
6. ควรตัดใบไม้มากกว่า 2 ชนิด ให้แกะได้เลือกกิน และปลูกต้นไม้ 2-3 ชนิด ริมรั้วโรงเรือนให้กิกนและให้ร่มเงา
7. ควรปล่อยแกะลงแบบหมุนเวียน
แปลงละ 4-5 สัปดาห์ เพื่อใช้แปลงอย่างมีประสิทธิภาพและตัดวงจรพยาธิ
8. ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่ายและตัดเหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิ
|
พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแกะกับแพะ |
1.
แกะมีนิสัยชอบเล็มหญ้าในทุ่งที่โล่งเตียน ต่างจากแพะ ซึ่งชอบปีน
กินใบไม้ เปลือกไม้ 2. แพะสามารถอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื่นและร้อนได้ดีกว่าแพะ 3. แพะสามารถปีน กระโดดข้าม หรือแม้แต่การขุดดินมุดรั้วได้ ซึ่งแกะทำไม่ได้ 4. แพะฉลาดกว่าแกะ หันหน้าเข้าสู้กับศัตรู ขณะที่แกะจะวิ่งหนีศัตรู ขี้ขลาด และแกะมักอยู่รวมกันเป็นฝูง 5. พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย โดยการปัสสาวะรดที่ขาหน้าท้อง อก และเครา แต่แกะจะมีกลิ่นตัวฉุนรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะผสมพันธุ์ |
นิสัยการกินอาหารของแกะ |
แกะ
สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า
หรือพืชที่มีลำต้นสั้น ชอบกินหญาที่งอกขึ้นใหม่ๆ หญ้าหมักและใบพืชผัก
ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเลี้ยงแกะในแปลงผักต่างๆ หลัการเก็บเกี่ยวได้
แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน เนื่องจากถ้ากินในขณะพืชผักนั้นยังสดอยู่
อาจทำให้แกะท้องอืดได้ เพราะพืชผักนั้นมีน้ำมาก และควรระวังยาฆ่าแมลงที่ใช้ในส่วนพืชผักนั้นด้วย แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดินต่อไป ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่ยังเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดี เพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี การดักหญ้ามนแต่ละครึ้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย ในการปล่อยแกะแทะเล็ม ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงมากกว่า 10 นิ้ว จนถึงความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก รวมทั้งยอดอ่อนของต้นพืช ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าที่สั้นตามหลัง การเลี้ยงแกะในสวนยาง สวนผลไม้ เช่น ส่วนมะม่วง มะขาม และขนุน เป็นต้น เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช แกะสามารถกินผลไม้ที่ร่วงหล่นลงเป็นอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ยังอาศํยร่มเงาของต้นไม้หลบแสงแดดร้อนได้ แต่ไม่ควรปล่อยแกะลงไปในส่วนที่ผลไม้ร่วมหล่นมากๆ ในครั้งแรก เพราะอาจจะกินมากเกินไป ทำให้ท้องอืดได้ ถ้าเลี้ยงปล่อยอยู่แล้วเป็นประจำก็จะไม่มีปัญหามากนัก |
พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม |
|
1. การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรให้เกิน 1 ใน 3 ของหญ้า
2. การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆ ไม่แก่เกินไป
3. ควรตัดใบพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน แค ทองหลางให้แม่แกะที่อุ้มท้อง หรือกำลังเลี้ยงลูก
|
|
5. ควรผูกกิ่งไม้กแขวนไว้เหนือพื้นเพื่อให้แกะได้เลือกกิน
6. ควรตัดใบไม้มากกว่า 2 ชนิด ให้แกะได้เลือกกิน และปลูกต้นไม้ 2-3 ชนิด ริมรั้วโรงเรือนให้กิกนและให้ร่มเงา
|
8. ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่ายและตัดเหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)