ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประตูเศรษฐกิจอาเซียน

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประตูเศรษฐกิจอาเซียน
ดอยหลวงดินแดนสองสายน้ำ สามตำบล สี่ชนเผ่า เรารักการเลี้ยงแกะ

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การจัดการด้านสุขภาพแกะ

การจัดการด้านสุขภาพแกะ
 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพแกะ 
          อุณหภูมิร่างกาย 102.5-104 องศาฟาเรนไฮด์

          อัตราการเต้นหัวใจ 60-80 ครั้ง/นาที

          อัตราการหายใจ 15-30 ครั้ง/นาที

          วัยเจริญพันธุ์ 4-12 เดือน
          วงรอบการเป็นสัด 17+/-2 วัน

          ระยะการเป็นสัด 12-36 ชั่วโมง

          ระยะการอุ้มท้อง 150 วัน


 
 
 การดูแลสุขภาพของแกะ 
        ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา แกะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ ดังนี้

         1. กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บ เหา ไร ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ และขนหลุดเป็นหย่อมๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดี ผลผลิตลดลง การป้องกันแก้ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก

         2. กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลด ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิทุก 1 เดือน

         3. การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด

 สาเหตุการติดต่อโรค 

          ดังนั้น หากพบแกะป่วยที่เป็นโรคระบาด ควรแยกเลี้ยงตัวป่วยออกมาห่างจากฝูง
 โรคที่มักพบ 
1. ท้องอืด

สาเหตุ เกิดก๊าซจากการหมักในกระเพาะอาหารเนื่องจากกินหญ้าอ่อน
หรือพืชใบอ่อนถั่วมากเกินไป

อาการ   กระเพาะอาหารพองลมขึ้นทำให้สวาปทางซ้ายของแกะป่องขึ้น

การป้องกัน
ไม่ควรให้แกะกินพืชหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วที่ชื้นเกินไป
หลีกเลี่ยงอย่าให้แกะกินพืชเป็นพิษ เช่น มันสำปะหลัง หรือไมยราพยักษ์

การรักษาและควบคุม  
ถ้าท้องป่องมากอย่าให้แกะนอนตะแคงซ้าย
กระตุ้นให้แกะยืนหรือเดิน
เจาะท้องที่สวาปซ้ายด้านบนด้วยเข็มเจาะหรือมีดเพื่อระบายก๊าซออก
2. ปวดบวม

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการ   จมูกแห้ง ขนลุก มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หายใจหอบ มีน้ำมูกข้น ไอหรือจามบ่อยๆ

การป้องกัน   ปรับปรุงโรงเรือนให้อบอุ่น อย่าให้ลมโกรก ฝนสาด

การรักษาและควบคุม   ใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด 3 วันติดต่อกัน เช่น ไทโลซิน คลอแรมฟินิคอล เตตราซัยคลิน เป็นต้น




3. โรคกีบเน่า
   
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการ เดินขากะเผลก กีบเน่ามีกลิ่นเหม็น

การป้องกัน
รักษาความสะอาด อย่าให้พื้นคอกสกปรก ชื้นแฉะ
 หลีกเลี่ยงสิ่งของมีคม เช่น ตะปูไม่วางบนพื้น ทำให้กีบเท้าเป็นแผล
ตัดแต่งกีบเป็นประจำปกติ

การรักษาและควบคุม
ทำความสะอาด ตัดส่วนที่เน่าออก ล้างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ฟอร์มาลีน 2-3% หรือสารละลายด่างทับทิม 10%
ใช้ผ้าพันแผลที่เน่า ป้องกันแมลงและบรรเทาการเคลื่อนไหว
4. โรคบิด

สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในลำไส้

อาการ แกะถ่ายเหลว อาจมีมูกเลือดปน ผอม ท้องเสีย หลังโก่ง

การป้องกัน   
อย่าให้แปลงหญ้าชื้นแฉะ
ไม่ล่ามแกะซ้ำที่เดิม

การรักษาและควบคุม
โดยทั่วไปแกะมักมีเชื้อบิดอยู่แล้ว ถ้ามีไม่มากนักจะไม่แสดงอาการ
ถ้าแกะแสดงอาการป่วย ให้ใช้ยาในกลุ่มทัลทาซูริล กรอกให้กิน



5. โรคปากเป็นแผลผุพอง

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส

อาการ เกิดเม็ดตุ่มเหมือนดอกกระหล่ำขึ้นที่ริมฝีปาก และจมูก อาจลุกลามไปตามลำตัว

การป้องกัน
เมื่อมีแกะป่วยให้แยกออก รักษาต่างหาก
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหวี่แมลงวันซึ่งเป็นตัวนำเชื้อไวรัส

การรักษาและควบคุม
ใช้ยาสีม่วงหรือสารละลายจุลสี 5% ทาที่แผลเป็นประจำวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
ควบคุมกำจัดแมลง
แยกขังตัวป่วยออกจากตัวดี
6. ปากและเท้าเปื่อย

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส

อาการ เกิดเม็ดตุ่มพองขึ้นที่ไรกีบ ริมฝีปากและเหงือก ทำให้เดินขากะเผลกและน้ำลายไหล แต่อาการจะไม่เด่นชัดเหมือนในโค-กระบือ

การป้องกัน รักษาและควบคุม
ดูแลสุขาภิบาล
ใช้ยาสีม่วงป้ายแผลที่เปื่อยวันละ 1 ครั้ง
แยกขังแกะป่วยแล้วรักษาให้หาย
ให้วัคซีนป้องกันทุก 6 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น