ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประตูเศรษฐกิจอาเซียน

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประตูเศรษฐกิจอาเซียน
ดอยหลวงดินแดนสองสายน้ำ สามตำบล สี่ชนเผ่า เรารักการเลี้ยงแกะ

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เส้นทางไปฟาร์มแกะดอยหลวง


  


ที่ว่าการอำเภอดอยหลวงเส้นทาง1721สายปงน้อย-เชียงแสนไปประมาณ 8 กม.ถึงบ้านใหม่พัฒนาเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านทุ่งโป่ง ตำบลหนองป่าก่อไปประมาณ 1700 เมตรพบประปาหมู่บ้านเลี้ยวขวาเข้าไป25เมตร พบฟาร์มแกะดอยหลวงสงสัยโทร 089 999 9971

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การจัดการด้านสุขภาพแกะ

การจัดการด้านสุขภาพแกะ
 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพแกะ 
          อุณหภูมิร่างกาย 102.5-104 องศาฟาเรนไฮด์

          อัตราการเต้นหัวใจ 60-80 ครั้ง/นาที

          อัตราการหายใจ 15-30 ครั้ง/นาที

          วัยเจริญพันธุ์ 4-12 เดือน
          วงรอบการเป็นสัด 17+/-2 วัน

          ระยะการเป็นสัด 12-36 ชั่วโมง

          ระยะการอุ้มท้อง 150 วัน


 
 
 การดูแลสุขภาพของแกะ 
        ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา แกะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ ดังนี้

         1. กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บ เหา ไร ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ และขนหลุดเป็นหย่อมๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดี ผลผลิตลดลง การป้องกันแก้ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก

         2. กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลด ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิทุก 1 เดือน

         3. การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด

 สาเหตุการติดต่อโรค 

          ดังนั้น หากพบแกะป่วยที่เป็นโรคระบาด ควรแยกเลี้ยงตัวป่วยออกมาห่างจากฝูง
 โรคที่มักพบ 
1. ท้องอืด

สาเหตุ เกิดก๊าซจากการหมักในกระเพาะอาหารเนื่องจากกินหญ้าอ่อน
หรือพืชใบอ่อนถั่วมากเกินไป

อาการ   กระเพาะอาหารพองลมขึ้นทำให้สวาปทางซ้ายของแกะป่องขึ้น

การป้องกัน
ไม่ควรให้แกะกินพืชหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วที่ชื้นเกินไป
หลีกเลี่ยงอย่าให้แกะกินพืชเป็นพิษ เช่น มันสำปะหลัง หรือไมยราพยักษ์

การรักษาและควบคุม  
ถ้าท้องป่องมากอย่าให้แกะนอนตะแคงซ้าย
กระตุ้นให้แกะยืนหรือเดิน
เจาะท้องที่สวาปซ้ายด้านบนด้วยเข็มเจาะหรือมีดเพื่อระบายก๊าซออก
2. ปวดบวม

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการ   จมูกแห้ง ขนลุก มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หายใจหอบ มีน้ำมูกข้น ไอหรือจามบ่อยๆ

การป้องกัน   ปรับปรุงโรงเรือนให้อบอุ่น อย่าให้ลมโกรก ฝนสาด

การรักษาและควบคุม   ใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด 3 วันติดต่อกัน เช่น ไทโลซิน คลอแรมฟินิคอล เตตราซัยคลิน เป็นต้น




3. โรคกีบเน่า
   
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการ เดินขากะเผลก กีบเน่ามีกลิ่นเหม็น

การป้องกัน
รักษาความสะอาด อย่าให้พื้นคอกสกปรก ชื้นแฉะ
 หลีกเลี่ยงสิ่งของมีคม เช่น ตะปูไม่วางบนพื้น ทำให้กีบเท้าเป็นแผล
ตัดแต่งกีบเป็นประจำปกติ

การรักษาและควบคุม
ทำความสะอาด ตัดส่วนที่เน่าออก ล้างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ฟอร์มาลีน 2-3% หรือสารละลายด่างทับทิม 10%
ใช้ผ้าพันแผลที่เน่า ป้องกันแมลงและบรรเทาการเคลื่อนไหว
4. โรคบิด

สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในลำไส้

อาการ แกะถ่ายเหลว อาจมีมูกเลือดปน ผอม ท้องเสีย หลังโก่ง

การป้องกัน   
อย่าให้แปลงหญ้าชื้นแฉะ
ไม่ล่ามแกะซ้ำที่เดิม

การรักษาและควบคุม
โดยทั่วไปแกะมักมีเชื้อบิดอยู่แล้ว ถ้ามีไม่มากนักจะไม่แสดงอาการ
ถ้าแกะแสดงอาการป่วย ให้ใช้ยาในกลุ่มทัลทาซูริล กรอกให้กิน



5. โรคปากเป็นแผลผุพอง

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส

อาการ เกิดเม็ดตุ่มเหมือนดอกกระหล่ำขึ้นที่ริมฝีปาก และจมูก อาจลุกลามไปตามลำตัว

การป้องกัน
เมื่อมีแกะป่วยให้แยกออก รักษาต่างหาก
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหวี่แมลงวันซึ่งเป็นตัวนำเชื้อไวรัส

การรักษาและควบคุม
ใช้ยาสีม่วงหรือสารละลายจุลสี 5% ทาที่แผลเป็นประจำวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
ควบคุมกำจัดแมลง
แยกขังตัวป่วยออกจากตัวดี
6. ปากและเท้าเปื่อย

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส

อาการ เกิดเม็ดตุ่มพองขึ้นที่ไรกีบ ริมฝีปากและเหงือก ทำให้เดินขากะเผลกและน้ำลายไหล แต่อาการจะไม่เด่นชัดเหมือนในโค-กระบือ

การป้องกัน รักษาและควบคุม
ดูแลสุขาภิบาล
ใช้ยาสีม่วงป้ายแผลที่เปื่อยวันละ 1 ครั้ง
แยกขังแกะป่วยแล้วรักษาให้หาย
ให้วัคซีนป้องกันทุก 6 เดือน

แกะกับการจัดการด้านอาหาร

การจัดการด้านอาหารแกะ        

นอกจากนี้ ควรเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ของแกะ เพื่อสามารถจัดการการเลี้ยงให้อาหารอย่างถูกต้อง
พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแกะกับแพะ
1. แกะมีนิสัยชอบเล็มหญ้าในทุ่งที่โล่งเตียน ต่างจากแพะ ซึ่งชอบปีน กินใบไม้ เปลือกไม้
2. แพะสามารถอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื่นและร้อนได้ดีกว่าแพะ
3. แพะสามารถปีน กระโดดข้าม หรือแม้แต่การขุดดินมุดรั้วได้ ซึ่งแกะทำไม่ได้
4. แพะฉลาดกว่าแกะ หันหน้าเข้าสู้กับศัตรู ขณะที่แกะจะวิ่งหนีศัตรู ขี้ขลาด และแกะมักอยู่รวมกันเป็นฝูง
5. พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย โดยการปัสสาวะรดที่ขาหน้าท้อง อก และเครา แต่แกะจะมีกลิ่นตัวฉุนรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะผสมพันธุ์

นิสัยการกินอาหารของแกะ
          แกะ สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า หรือพืชที่มีลำต้นสั้น ชอบกินหญาที่งอกขึ้นใหม่ๆ หญ้าหมักและใบพืชผัก ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเลี้ยงแกะในแปลงผักต่างๆ หลัการเก็บเกี่ยวได้ แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน เนื่องจากถ้ากินในขณะพืชผักนั้นยังสดอยู่ อาจทำให้แกะท้องอืดได้ เพราะพืชผักนั้นมีน้ำมาก และควรระวังยาฆ่าแมลงที่ใช้ในส่วนพืชผักนั้นด้วย
          แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดินต่อไป ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่ยังเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดี เพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี การดักหญ้ามนแต่ละครึ้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย
         ในการปล่อยแกะแทะเล็ม ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงมากกว่า 10 นิ้ว จนถึงความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก รวมทั้งยอดอ่อนของต้นพืช ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าที่สั้นตามหลัง
         การเลี้ยงแกะในสวนยาง สวนผลไม้ เช่น ส่วนมะม่วง มะขาม และขนุน เป็นต้น เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช แกะสามารถกินผลไม้ที่ร่วงหล่นลงเป็นอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ยังอาศํยร่มเงาของต้นไม้หลบแสงแดดร้อนได้ แต่ไม่ควรปล่อยแกะลงไปในส่วนที่ผลไม้ร่วมหล่นมากๆ ในครั้งแรก เพราะอาจจะกินมากเกินไป ทำให้ท้องอืดได้ ถ้าเลี้ยงปล่อยอยู่แล้วเป็นประจำก็จะไม่มีปัญหามากนัก

พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม
          แกะจะเดินหากินอาหารได้ไกลถึงวันละ 6-8 กม.
          ปริมาณที่กินได้ 3-6% นน.ตัว (ถ้าแกะหนัก 30 กก. จะกินหญ้าสดวันละ 3กก./ตัว)
          แกะเลือกกินหญ้า 70% ไม้พุ่ม 30% แพะเลือกกินไม่พุ่ม 72% หญ้า 28%
          ถ้าขัง จะกินน้ำวันละ 0.68 ลิตร/ตัว ปล่อยเลี้ยง 2 ลิตร/ตัว
          ใช้เวลากินอาหาร 30% เคี้ยงเอื้อง 12% เดินทางหาอาหาร 12% และผักพ่อน 46%
การตัดใบไม้ให้กิน
1. การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรให้เกิน 1 ใน 3 ของหญ้า
2. การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆ ไม่แก่เกินไป
3. ควรตัดใบพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน แค ทองหลางให้แม่แกะที่อุ้มท้อง หรือกำลังเลี้ยงลูก

 
4. ควรตัดให้เหนือจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร
5. ควรผูกกิ่งไม้กแขวนไว้เหนือพื้นเพื่อให้แกะได้เลือกกิน
6. ควรตัดใบไม้มากกว่า 2 ชนิด ให้แกะได้เลือกกิน และปลูกต้นไม้ 2-3 ชนิด ริมรั้วโรงเรือนให้กิกนและให้ร่มเงา

7. ควรปล่อยแกะลงแบบหมุนเวียน แปลงละ 4-5 สัปดาห์ เพื่อใช้แปลงอย่างมีประสิทธิภาพและตัดวงจรพยาธิ
8. ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่ายและตัดเหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิ